อันตรายจากขวดน้ำพลาสติกในรถ....


ขวดน้ำพลาสติกในรถ..อันตราย


                    เพราะอากาศที่ร้อนอบอ้าว และ การเขย่า การกลิ้ง การกระแทก..จะทำให้สารพิษในขวดพลาสติด ออกมาปนเปื้อนในน้ำดื่มสารพิษจากขวดน้ำและภาชนะพลาสติก รุนแรงเกินคาด มาดูกันว่าจะหลีกเลี่ยงได้ยังงัย
เคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับสารพิษจากขวดน้ำพลาสติก ที่ว่าเด็ก12ขวบชาวดูไบใช้ขวดพลาสติกใบเดิมใส่น้ำดื่มไปโรงเรียนทุกวันปีครึ่ง ปรากฎว่าเด็กตายหมอบอกว่าเด็กตายเพราะสารพิษจากขวดพลาสติก
ตอนแรกก็ไม่ได้ติดอกติดใจอะไร ก็รู้แค่ว่า ไม่ควรใช้ขวดน้ำใส่น้ำซ้ำ หมดแล้วทิ้งเลย (ขยะเกลื่อนกลาด) แต่วันนี้ได้บังเอิญไปพบเนื้อหาเกี่ยวกับภัยจากขวดพลาสติก อ่านแล้วตกอกตกใจ อดนำมาเล่าไม่ได้
ขวดพลาสติกโดยทั่วไป เช่นขวดน้ำดื่ม ผลิตจาก Polycarbonate หรือ PET (Polyethyleneterephthalate ) ขวดภาชนะพลาสติกเหล่านี้จะมีสาร Bisphenol A" เป็นสารหลักที่ใช้ทำพลาสติกใสสำหรับภาชนะบรรจุอาหาร ขวดนมเด็ก ขวดน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังพบได้ใน ของเล่นเด็ก สารบุในอาหารกระป๋อง ภาชนะพลาสติกประเภท "Reusable" ภาชนะพลาสติกที่เขียนว่า "Microwaveable" อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในหมวกกันน็อกสำหรับเล่นกีฬา เลนส์แว่นตา เป็นต้น
สารพิษนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสะสมจนก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ เนื่องจากสารพิษนี้ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศ ESTROGEN จึงทำให้เกิดอาการแปรปรวนต่างๆ

อาการและโรคที่เกิดขึ้น/และอาจเกิดขึ้นจากการได้รับสารพิษ Bisphenol A
1. อาการไฮเปอร์ Hyperactivity (สมาธิสั้น)
2. พฤติกรรมก้าวร้าว
3. มีปัญหาเรื่องความจำ และสมาธิ
4. พัฒนาการสมองช้า และอาจเป็นสาเหตุของโรคดาวน์ซินโดม(เอ๋อ)
5. โรคอ้วน
6. โรคเบาหวาน
7. กระตุ้นเซลล์มะเร็ง ทำให้เป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม
8.ผลจากสารพิษช่วยเร่งให้เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็วขึ้น
(early puberty) แต่กลับกระทบต่อการสืบพันธุ์ เช่นทำให้เสปิร์มของเพศชายอ่อนแอและน้อยลง เกิด ภาวะตั้งครรภ์ยากและแท้งลูกง่ายในหญิง ฯลฯ
9. ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่อง(impaired immune function)
10. elimination of sex differences in behavior - มีพฤติกรรมที่แยกเพศไม่ออก
หรือมีพฤติกรรมที่ไม่รู้ว่าเป็นเพศอะไร
11. Reversal of normal sex differences in the brain structure - การจำแนกเพศกลับกันในโครงสร้างของสมองอ่านๆ ดูแล้วก็รู้สึกกลัวๆ เพราะ อาการและโรคเหล่านี้ มันดูเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนรอบๆ ตัว
สังเกตไหมว่า เด็กระยะหลังๆ เป็นโรคสมาธิสั้นหรือไฮเปอร์กันเยอะมากๆ รวมถึงประเด็นเรื่องเพศที่ 3 ที่มีเยอะ
มากๆ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ หรือว่าจริงๆ แล้ว พวกเรากำลังได้รับผลกระทบจากสารพิษในพลาสติกนี้อยู่
สารพิษเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างไร
1. สารพิษ Bisphenol A เป็นส่วนผสมอยู่ในภาชนะพลาสติก และกระป๋อง "Can" ที่ถูกผนึก, บุ, ซับ ด้วย epoxy resin
ซึมเปื้อนลงในอาหาร
2. เมื่อภาชนะพลาสติกประเภท PET รวมถึง PVC โดนความร้อน แล้วซึมเปื้อนลงอาหาร
3. การนำภาชนะ PET มาใช้ซ้ำๆ การล้างทำให้สารพิษซึมเปื้อนออกมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้สารเคมีแรงๆ ล้าง
4. สาร Bisphenol A อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำใช้ (ประปา) (เชื่อว่ามาจากสารพิษจากพลาสติก ฯลฯ ซึมลงดิน ลงน้ำ แล้ววนกลับมา) อันนี้ยากหลีกเลี่ยงถ้ายังต้องใช้พลาสติกกันอยู่ทางออก
1. เลือกใช้ภาชนะบรรจุน้ำและอาหารที่เป็น แก้ว หรือ Stainless steel พวกเซรามิค กระเบื้องเคลือบ Porcelain ก็ใช้ได้ หรือพลาสติกที่ระบุว่า Non-Polycarbonate
2. เลี่ยงภาชนะพลาสติกมีคำย่อว่า PC หรือ พลาสติกเบอร์ 7 ซึ่งเป็นคำย่อยของPolycarbonate
เลี่ยงภาชนะ PVC หรือ พลาสติกเบอร์ 3
3. พลาสติกเบอร์ 1, 2, 5 โอเคปลอดภัยสำหรับอาหาร...แต่ **ไม่ควรอุ่นอาหารในภาชนะพลาสติกทุกประเภท ไม่ควรนำขวดพลาสติกไปแช่แข็ง และไม่นำขวด PETมาใช้ซ้ำ **
4. เลี่ยงอาหารกระป๋อง
5. เลี่ยงการซื้ออาหารสดที่ห่อด้วยพลาสติกใส plastic wrap หรือแพ็คในซองพลาสติก โดยเฉพาะ ชีส และเนื้อ เพราะสารพิษ ซึมเข้าสู่อาหารได้โดยตรง
6.เลี่ยงการทานอาหารกล่องแช่แข็งเพราะต้องเอากล่องพลาสติกไปอุ่นในไมโครเวฟซึ่งจะทำให้สารพิษละลายออกมาปนเปื้อนอาหารได้ ถ้าจะทานแนะให้เทใส่ภาชนะแก้วแล้วค่อยอุ่น
7. เลี่ยงการใช้ขวดนมพลาสติกสำหรับทารก หันมาใช้ขวดนมแก้วแทน หรือเลือกขวดตามคำแนะนำ ข้อ 1-3
8.เลี่ยงของเล่นพลาสติกสำหรับเด็กของเล่นไม้ปลอดภัยกว่า
9. ถ้าจำเป็นต้องใช้ภาชนะพลาสติก ไม่ควรใช้กับของร้อน ไม่ควรล้างด้วยสารเคมีกัดกร่อน (อย่าใช้ถ้าจะง่ายกว่า) ภาชนะเหล่านี้ บางอันจะมีเขียนไว้ว่า ล้างได้ไม่เกิน 20 ครั้งอะไรประมาณนั้น เป็นการบอกอายุของพลาสติก แต่ในไทยคงไม่มีเขียนไว้