การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของหัวใจ


                        





             การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของหัวใจ

1. ให้ลดปริมาณไขมันที่มีอยู่ในอาหารทั้งหมดให้เหลือเพียง 35% ของแคลอรีที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งปัจจุบันคนเราได้พลังงานจากไขมันสูงถึงกว่า 40%
2. ควรจำกัดไขมันชนิดอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์ หรือไขมันจากพืช หรือปลา แต่มาทำให้อยู่ในสภาพแข็งโดยวิธีเอาน้ำออก ที่เรียกว่าไฮโดรจีเนชัน
3. ให้ใช้ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทนไขมันชนิดอิ่มตัว เพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอล
4. ต้องลดอาหารทุกชนิดเพื่อลดจำนวนแคลอรีลง โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว หมายความว่าต้องลดทั้งคาร์โบไฮเดรต และไขมันด้วย เพราะคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านขบวนการแล้วโดยเฉพาะพวกน้ำตาลและแอลกอฮอล์จะเปลี่ยนเป็นไขมันได้ ถ้าร่างกายยังไม่ต้องการใช้เป็นพลังงาน


ข้อแนะนำวิธีการลดไขมันอิ่มตัว

1. รับประทานเนื้อและไข่แดงให้น้อยลง แต่ให้เพิ่มเนื้อสัตว์ปีกและปลาให้มากขึ้นแทน เลือกรับประทานแต่เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน พยายามตัดส่วนมันที่ติดอยู่กับเนื้อสัตว์ออกให้หมด ควรปิ้งหรือย่างมากกว่าทอด
2. ไม่ควรใช้เนยสดแต่ให้ใช้มาการีนชนิดนุ่มที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทน มาการีนชนิดนี้จะอ่อนตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในตู้เย็นหรืออุณหภูมิห้องตามปกติ หลีกเลี่ยงครีมและไขมันที่ลอยเป็นฝาอยู่บนนมเสมอ
3. ใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อนเวลาปรุงอาหาร เช่นน้ำมันข้าวโพด นำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันดอกคำฝอย อย่าใช้มาการีนที่แข็งตัวได้หรือน้ำมันหมู น้ำมันปรุงอาหารที่ติดสลากไว้เพียงคำว่า “น้ำมันพืช” อาจมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงมากและมีไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อนเพียงนิดเดียว
4. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น


แนวทางปฏิบัติในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของหัวใจ
1. อย่าใช้เนยสดหรือมาการีนแข็งทาขนมปัง ให้ใช้มาการีนชนิดนุ่มที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทน
2. อย่าใช้น้ำมันหมู เนยสด หรือมาการีนชนิดแข็งตัวในการปรุงอาหาร และทำขนมอบ ให้ใช้น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันดอกทานตะวัน และมาการีนที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
3. รับประทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัวให้น้อยลง โดยเฉพาะเนื้อติดมัน เบคอนและเครื่องในสัตว์ ถ้าจะรับประทานให้เอาส่วนมันออกเสียก่อน และควรปิ้งหรือย่างดีกว่าทอด รับประทานเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ปีกให้มากกว่าเนื้อหมูและเนื้อวัว และอย่ารับประทานน้ำมันที่ออกมาจากเนื้อสัตว์ขณะทำให้สุก ไม่ว่าจะนำไปทำซอสราดบนเนื้อสัตว์ (ที่เรียกว่าน้ำเกรวี่) ก็ตาม
4. งดใช้ครีมและนมที่มีไขมันเนยเต็มอัตราไม่ว่าจะดื่มหรือปรุงอาหาร ให้ใช้นมที่เอาไขมันเนยออกแล้วที่เรียกว่าสกิมมิลค์
5. ลดไข่และเนยแข็ง รับประทานได้ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ และให้รับประทานเนยชนิดคอตเตจ (cottage cheese) หรือเนยแข็งที่ทำมาจาก สกิมมิลค์ก็ได้
6. งดเค้กและขนมอบทุกชนิดที่วางขายในท้องตลาด และเมื่อจะทำเองที่บ้านควรใช้ไขมันชนิดมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทนด้วย
7. ลดอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว โดยเฉพาะน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ให้รับประทานผักและผลไม้ ใช้น้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายแดงช่วยให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายขาว
8. เมื่อออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน พยายามเลี่ยงอาหารประเภทตับบด เนยแข็ง ครีม ไข่ ซุปข้นที่มีมัน ซอสที่ราดบนอาหารและเนื้อสัตว์ติดมัน
9. เมื่อรับประทานอาหารฝรั่งควรเลือกน้ำผลไม้คั้น ผลไม้จำพวกแตง หรือซุปใส และรับประทานแต่เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันโดยเลือกเนื้อสัตว์ปีกและเนื้อปลาไว้เสมอ ไม่ควรลืมรับประทานผักสด ตบท้ายด้วยผลไม้แทนเค้กหรือของหวานอื่น ๆ


ขอขอบคุณ.....guru.sanook.com